เครื่องออกกำลังกาย อุปกรณ์ออกกําลังกาย อุปกรณ์ฟิตเนส
view-th view-en
ตะกร้า 0 ตะกร้าสินค้า

เต้นทเวิร์ค TWERKING DANCE เทรนด์เต้นลดสะโพกลดต้นขาแนวใหม่

เต้นทเวิร์ค TWERKING DANCE เทรนด์เต้นลดสะโพกลดต้นขาแนวใหม่

การเต้นทเวิร์คไม่ใช่เพียงเทรนด์การเต้นปลุกกระแสจากเหล่าเกิร์ลกรุ๊ป แต่ถือเป็นวิถีการออกกำลังกายยุคใหม่ที่มาแรงซึ่งช่วยสลายไขมันและกระชับทรวดทรงสะโพกที่ลดยากได้มีประสิทธิภาพ ทั้งยังได้รับความนิยมอย่างสูงจนเข้าสู่ธุรกิจฟิตเนสจนกลายเป็นคลาสเต้นทเวิร์คโดยเฉพาะที่เห็นเช่นทุกวัน หากคุณต้องการรู้เกี่ยวกับ Twerking Dance Exercise มากขึ้น ตอบทุกประเด็นข้อสงสัยพร้อมพาคุณก้าวข้ามขอบกั้นทางสังคมได้ไร้ข้อจำกัดไปพร้อมกัน

เต้นทเวิร์ค

Twerking dance ท่าเต้นมาแรงแห่งยุค

การเต้นทเวิร์ค (Twerking Dance) เป็นการเต้นออกกำลังกายรูปแบบหนึ่งซึ่งนักวิทยาศาสตร์การกีฬาจาก University of Brighton ได้คิดค้นเพื่อเน้นบริหารส่วนสะโพก ต้นขาและแกนกลางลำตัวให้เผาผลาญได้มีประสิทธิภาพสูงสุด ทั้งนี้การเต้นทเวิร์คในช่วงแรกเป็นเพียงท่วงท่าการเต้นสไตล์ฮิปฮอปที่เคยโด่งดังในช่วงยุค 90 ก่อนถูกหยิบมาใช้และพัฒนาต่อยอดจากศิลปินตัวแม่จากหลายวงการ ไม่ว่าจะเป็น Miley Cyrus, Nicki Minaj, Jennifer Lopez จนกลายเป็นคลาสออกกำลังกายที่เสน่ห์เฉพาะตัว

ประโยชน์ของการ Twerking

  • เสริมความมั่นคงแก่ร่างกาย: ระบบกระดูก กล้ามเนื้อและเอ็นประสาททำงานสอดล้อไปอย่างต่อเนื่อง เสริม Mobility และ Stability ให้ยืดหยุ่นคล่องตัวทุกการเคลื่อนไหว มั่นคงตั้งตรงทุกท่วงท่า พร้อมปรับทรวดทรง (Posture) ให้งดงาม
  • เพิ่มการเผาผลาญพลังงาน: สามารถปรับระดับความเข้มข้นของการออกกำลังกายให้เร็วและหนักด้วยอุปกรณ์เสริมแรงต้านอย่าง Resistance Brand ซึ่งเร่งการเผาผลาญพลังงานได้สูงถึง 500 แคลอรี่/ชั่วโมง ซึ่งสูงกว่ากีฬาชนิดอื่น เช่น การวิ่ง ว่ายน้ำ
  • เพิ่มประสิทธิภาพแก่กล้ามเนื้อหลายส่วน: เนื่องจากการเต้นทเวิร์คเกิดจากการผสานท่าสควอซร่วมกับฮิปฮอปจนเกิดสิ่งที่เรียกว่า “Bounce” จึงช่วยดึงพลังของมวลกล้ามส่วนหน้าขา ก้น สะโพกและลำตัวได้อย่างเต็มที่ ส่งผลให้รูปร่างกระชับและแข็งแรงยิ่งขึ้น
  • ปรับสมดุลประสาท: คลายปัญหาเรื่องเส้นยืด ออฟฟิศซินโดรม และด้านประสาทอื่น ทั้งยังปลดปล่อยร่างกายจากความเครียดผ่านการกระตุ้นสารสื่อประสาท (Neurotransmitter) ซึ่งช่วยให้รู้สึกปลอดโปร่ง เช่น เอ็นโดฟิน โดปามีน เซโรโทนีน
  • ปอดและหัวใจทำงานแข็งแรง: ด้วยลักษณะการออกท่าที่ใช้ความไวว่องเฉกเช่นคาร์ดิโอ ทั่วไป จึงมีส่วนช่วยการทำงานของระบบหายใจและไหลเวียนเลือดได้อย่างดี
เต้นทเวิร์ค

ความเป็นมาของการเต้นทเวิร์ค

เดิมทีการเต้นทเวิร์คมีที่มาจาก “Mapouka” การเต้นเข้าจังหวะเพลงแบบดั้งเดิมจากเมืองนิวออลีน โดยมีศิลปินชาวแอฟริกันอเมริกันอย่าง DJ Jubilee เป็นผู้ปลุกกระแสท่าเต้นพื้นถิ่นให้เป็นที่รู้จักและโด่งดังทั่วโลกในยุค 90 ด้วยชุดซิงเกิ้ลเพลง Do the Jubilee All

แม้ว่าการเต้นทเวิร์คจะได้รับเสียงวิจารณ์ว่าเป็นท่าเต้นไม่เหมาะสมในหลายประเทศก็ตาม ทว่าหากมองหยั่งลึกจะพบว่าท่วงท่าเหล่านั้นกลับสะท้อนถึงปรัชญาแห่งเสรีภาพในการแสดงออกของกลุ่มผู้หญิงผิวสีได้อย่างอิสระจนกลายเป็นชื่อ Twerk ที่เรียกอยู่ทุกวัน ซึ่งเกิดจากการกร่อนคำว่า ‘To work’ แปรเปลี่ยนทุกท่วงท่าเคลื่อนไหวให้ผสานกับการเล่นที่มีสีสันแปลกตาโดยเน้นที่การเคลื่อนไหวจากแกนกลางเป็นสำคัญ

เต้นทเวิร์ค

วิธีตั้งท่าทเวิร์คเบื้องต้น

1. คุณสามารถตั้งท่าทเวิร์คพื้นฐานง่าย ๆ เพียงเริ่มตั้งท่ายืนเปิดเท้าขนานกับหัวไหล่ ก่อนงอเข่าพร้อมกับโค้งหลังเล็กน้อยคล้ายท่าสควอซ (Squat) ทว่าใช้มือแตะเข่าเพื่อถ่วงสมดุลร่างกายตั้งอยู่ได้

2. จากนั้นจึงเริ่มขยับสะโพกขึ้นลงอย่างรวดเร็วจนเกิดเป็น Bouncing Effect ตามจังหวะเพลงที่เลือกใช้ (ซึ่งสำหรับมือใหม่จะให้ปลอดภัยควรเรียนรู้การทำจากในคลาสเป็นอย่างดีเสียก่อน)

3. หากทำท่าพื้นฐานจนเริ่มชำนาญก็สามารถเพิ่มความท้าทายยิ่งขึ้นด้วยการทำ The Wall Twerking ด้วยท่า Handstand โดยเว้นช่องว่าง 45 องศากับกำแพงและเริ่มขยับสะโพก

เต้นทเวิร์ค

Addition

คุณสามารถประยุกต์ใช้ Twerking Dance Exercise แต่ละท่าเข้าคู่กับการออกกำลังกาย Cross Training แบบอื่น เช่น Weight training, Pirates เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเผาผลาญให้ได้ผลสูงสุด

Tips สำหรับการเต้นทเวิร์ก

แม้การเต้นทเวิร์คจะรวมข้อดีไว้หลากหลาย ทว่ากลับมีความเสี่ยงด้านสุขภาพที่ต้องระวัง ซึ่งเราได้รวมทริปง่าย ๆ สำหรับป้องกันสิ่งไม่คาดฝันที่อาจเกิดขึ้นระหว่างออกกำลังกาย เพียงเริ่มจาก

  • Warm-up: ใช้เวลาราว 5 – 10 นาทีสำหรับบริหารกล้ามเนื้อด้วยท่วงท่า Dynamic Stretching ควบคู่กับท่ายืดส่วนสะโพกก่อนเข้าสู่การเต้นทเวิร์คแบบเข้มข้นเต็มตัว อย่างไรก็ตาม สำหรับมือใหม่ควรเริ่มต้นออกกำลังกายด้วยท่า Basic Hip roll หรือ Shallow Dip ก่อนเพื่อปรับสภาพร่างกายให้คุ้นชิน
  • Activate the core: เน้นโฟกัสกล้ามเนื้อส่วนแกนกลางลำตัวเพื่อช่วยรักษาหลัง ไหล่ คอให้มั่นคงเพื่อลดภาระตามข้อต่อระหว่างตั้งท่าสควอซและทำ bouncing
  • Land Softly: ควบคุมท่วงท่าเคลื่อนไหวให้แตะพื้นเสมือนร่างกายมีน้ำหนักมากกว่าทิ้งน้ำหนักลงกระแทกทั้งส่วนร่างเพราะอาจมีผลถึงข้อต่อ อย่างไรก็ตาม การสวมสนับเข่าขณะเต้นทเวิร์คมีส่วนช่วยลดทอนแรงกระแทกขณะทำจนคุณหมดกังวลแม้เวลาเผลอ
  • Listen to the body: ฟังเสียงและรับรู้สัญญาณเตือนของร่างกายทั้งในรูปแบบของความเจ็บ และอาการอ่อนล้าทั้งจากกล้ามเนื้อ เส้นเอ็นหรือบริเวณตามกระดูกข้อต่อ หากเกิดภาวะดังกล่าวควรหยุดทำไว้เท่านี้เพื่อรักษาอาการเจ็บ
  • Stay hydrated: เนื่องจากการทำ Twerking Dance จัดเป็นกิจกรรมที่ต้องออกแรงมาก จึงเป็นเหงื่อออกมากจนอ่อนเพลียเพราะขาดน้ำ ดังนั้นการพักเบรกเพื่อดื่มน้ำในช่วงเวลาสั้นช่วยเติมความสดชื่นให้ร่างกายสามารถดำเนินคลาสได้ครบเวลา

สรุป

การเต้นทเวิร์ก ทเวิร์กเป็นการออกกำลังกายที่สนุกสนานและมีประโยชน์ เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการเผาผลาญแคลอรี่ กระชับกล้ามเนื้อ และเพิ่มความมั่นใจ ลองเต้นทเวิร์กดูสิ คุณอาจจะชอบมัน!

แหล่งอ้างอิง

Kyra D. Gaunt. (2021). Is Twerking African? Dancing and Diaspora as embodied knowledge on Youtube. 31 January 2024, derived from https://bitly.ws/3byQZ


บทความอื่นๆ ที่หน้าสนใจ

ทำความรู้จักกับ การเต้นบาสโลบในผู้สูงอายุ กิจกรรมสนุกได้สุขภาพ

การเต้นบาสโลบในผู้สูงอายุ เป็นการเต้นออกกำลังกายที่ได้รับความนิยมในกลุ่มผู้สูงอายุ มีที่มาจากสปป.ลาว เต้นยากไหมและดีต่อผู้สูงอายุอย่างไรมีคำตอบ..

เต้นบาสโลบในผู้สูงอายุ

แอโรบิค ผู้สูงอายุ สูงวัยเรียกเหงื่อเพื่อสุขภาพ แนะนำท่าเต้นสไตล์เบา ๆ

แอโรบิค ผู้สูงอายุ สูงวัยแต่แข็งแรงทั้งกายและใจด้วยวิธีออกกำลังกายอย่างเหมาะสมและปลอดภัย แอโรบิค ผู้สูงอายุ และผู้มีโรคประจำตัวควรใช้ท่าเต้นแบบไหน หาคำตอบได้ที่นี่

แอโรบิค ผู้สูงอายุ

ล้วงลึก ZUMBA DANCE แอโรบิคคาร์ดิโอลดพุงสุดบ้าที่ได้ผลเกินคาด

ล้วงลึก Zumba dance ช่วยทำแอโรบิคคาร์ดิโอลดพุงของคุณเห็นผลไว ร่วมทำเข้าใจว่า ซุมบ้าแดนซ์ คืออะไร รวมข้อระวังผู้สูงวัยและผู้มีโรคประจำตัว

ZUMBA DANCE