เครื่องออกกำลังกาย อุปกรณ์ออกกําลังกาย อุปกรณ์ฟิตเนส
view-th view-en
ตะกร้า 0 ตะกร้าสินค้า

เลือกหูฟังออกกำลังกายที่ ‘ใช่’ อย่างไรให้ตอบโจทย์ทุกท่วงท่า

เลือกหูฟังออกกำลังกายที่ ‘ใช่’ อย่างไรให้ตอบโจทย์ทุกท่วงท่า

เสียงเพลงเสมือนยาเสพ ซึ่งหากใช้อย่างพอเหมาะจะสามารถสร้างการออกกำลังกายที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นไปอีกระดับ หูฟังออกกำลังกาย จัดเป็นไอเท็มพิเศษซึ่งเหล่านักกีฬาไม่ควรขาด เพราะนอกจากช่วยเพิ่มอัตราเร่งทุกการเคลื่อนไหวให้รวดเร็วขึ้นแล้ว ยังช่วยปลุกใจให้คุณรู้สึกสนุกพร้อมเสริมร่างกายให้ทานทนกว่าเดิมอย่างน่าประหลาด Homefittools เตรียมเจาะประเด็นเหล่านี้ให้เห็นภาพชัดเจนยิ่งขึ้น พร้อมแนะนำหูฟังออกกำลังกายที่ใช่ให้คุณออกกำลังได้สมูธทุกท่วงท่า

เสียงเพลงมีผลต่อการออกกำลังกาย

แม้เสียงเพลงจะเป็นเพียงแรงกระแทกของอากาศที่มองไม่เห็นด้วยตา ทว่าก็กลับช่วยบูธร่างกายให้คลายความเจ็บปวดและอ่อนเพลียได้อัศจรรย์ Costas Karageorphis หนึ่งในผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาการออกกำลังกายด้วยดนตรีตัวท็อปของโลกจาก Brunel University ได้กล่าวทิ้งทวนไว้ว่า “เพลงเป็นสารเสพติดที่ถูกต้องตามกฎหมายของนักกีฬา”

เสียงเพลงมีผลต่อการออกกำลังกาย

ทั้งนี้ตลอดเวลาการศึกษาที่ผ่านมานักจิตวิทยาได้ค้นพบว่าจังหวะเพลงในช่วงความถี่ 2 เฮิรตซ์ (Hz) หรือเทียบเกิดอัตรา 120 ครั้ง/นาที (bpm) ช่วยกระตุ้นเราให้เคลื่อนไหวรวดเร็วขึ้นโดยไม่รู้ตัว นอกจากนี้มีงานวิจัยศึกษา จาก Sheffield Hallam University พบว่าอัตราการรับออกซิเจนเข้าสู่ร่างกายจะเพิ่มขึ้นราว 7 เปอร์เซ็นต์หากประสานการเคลื่อนไหวร่วมกับจังหวะเพลง ซึ่งช่วยลดโอกาสเกิด false step ร่วมกับลดการใช้พลังกายได้อย่างดี

เสียงเพลงช่วยเราได้อย่างไร

  • Pain Amelioration: ช่วยลดความเจ็บปวดและอ่อนเพลียขณะออกกำลังกาย
  • Emotional Adjustment: ปรับสภาพอารมณ์พร้อมเสริมความทนทานแก่ร่างกาย พร้อมเร่งอัตราการเต้นของหัวใจให้สูบฉีดไหลเวียนทั่วร่างได้ดียิ่งขึ้น
  • Metabolic Support: เสริมระบบเมตาบอลิซึมให้ทำงานได้มีประสิทธิภาพ
เสียงเพลงช่วยเราได้อย่างไร

หูฟังออกกำลังกายแบบไหนที่ ‘ใช่’

แม้จะรู้ว่าเพลงส่งผลต่อร่างกายอย่างไร แต่ถ้าหากไม่มีหูฟังออกกำลังกายที่มีคุณภาพมากพอก็อาจทำให้ประสิทธิภาพการออกกำลังกายไม่ดีเท่าที่ควร ดังนั้นสำหรับใครที่กำลังหาหูฟังออกกำลังกายที่ ‘ใช่’ อยู่ ควรพิจารณา 4 องค์ประกอบหลักก่อนเลือกใช้ ไม่ว่าจะเป็น

1. การเลือกหูฟังที่อานุภาพเสียงคมชัด

คุณภาพเสียงเป็นคุณสมบัติที่สำคัญสุดที่เราควรคำนึง จะให้ดีควรเลือกแบบขยายเสียงแบบ surround รอบทิศ พร้อมปิดกั้นเสียงอื่นไม่ให้เล็ดลอดคอยกวนใจคุณ หรือจะเปลี่ยนเพลงแนวฟังเบาสบายหรือเบสหนักหน่วงเข้าถึงทุกห้วงอารมณ์ก็สามารถเป็นทุกอย่างให้คุณได้ หากมีชุดยางและฟังก์ชั่นพิเศษอื่นสำหรับเปลี่ยนคุณภาพเสียงก็ถือว่าเพอร์เฟ็ค

หูฟังออกกำลังกายแบบไหนที่ใช่

2. พร้อมระบบ Touchscreen

เพื่อให้ทุกการเคลื่อนไหวไร้สะดุด หมดห่วงเรื่องต้องคว้าสมาร์ทโฟนรีบเปลี่ยนเพลงขณะวิ่งบนลู่ด้วยความเร็วยิ่งยวดด้วยระบบ Touchscreen อัจฉริยะ ไม่ว่ามีสายเรียกขัดจังหวะก็สามารถกดรับสายได้สบาย

3. วัสดุกันน้ำ สวมใส่แน่นไม่หลุดง่าย

คุณสมบัติถัดมาที่ไม่ควรพลาดที่ไม่ใช่แค่กันน้ำ ทว่ากันเหงื่อร่วมด้วย พร้อมวัสดุยางหูฟังซับน้ำและยึดติดหูแบบ In-Ear ได้แน่นหนา จึงไม่หลุดง่ายแม้ใช้เดิน วิ่ง หรือแม้แต่ใช้ว่ายน้ำก็สามารถทำได้ ปลอดภัยทุกการเคลื่อนไหว

4. ชาร์จเต็มพลังฉับไวพร้อมใช้ได้ยาวนาน

และที่ขาดไม่ได้เพื่อการใช้งานที่เหนือกว่าหูฟังแบบทั่วไปคือรวมชาร์จซึ่งรวบตัวกล่องไว้ใช้บูสพลังด้วยระบบ Quick Charge ให้เต็มขีด ภายในระยะเวลาที่รวดเร็วทันใช้ รองรับเทคโนโลยี NPC เชื่อม Bluetooth เข้าคู่กับสมาร์ทโฟนทันใจ ใช้งานได้นานมากกว่า 4 ชั่วโมง

IPX7 พร้อมตอบโจทย์ทุกข้อปัญหา

IPX7 พร้อมตอบโจทย์ทุกข้อปัญหา

IPX7 รวมทุกฟังก์ชั่นพร้อมตอบโจทย์เหล่าฟิตเนสเทรนเนอร์ นักกีฬา หรือแม้แต่คนทั่วไปที่กำลังหาหูฟังออกกำลังกายคู่โปรดไว้เก็บใช้นาน ๆ พร้อมประกันยาวนานถึง 1 ปี

  • คุณภาพเสียงแบบ 6D Surround แน่นคมชัด ไร้เสียงด้านนอกแทรกรบกวน
  • กันน้ำได้เต็มรูปแบบ แม้ใช้ใส่ขณะว่ายน้ำก็สะดวก
  • กล่องหูฟังครบเครื่อง ทั้งชาร์จและเก็บได้ในกล่องเดียว ด้วยกำลังไฟ 3500 mAH ครบเต็มขีดใน 60 นาที
  • พร้อมสัมผัสฉับไว จะหยุดรับสายหรือเปลี่ยนเพลงก็ทำได้ไม่ติดขัด
  • เก็บใช้ยาวนาน 4 ชั่วโมง

ข้อควรระวังจากการใช้หูฟังออกกำลังกาย

แม้หูฟังออกกำลังกายจะมากสารพัดประโยชน์ต่อการออกกำลังกายของเรา ทว่าก็มีข้อบางประการที่ควรระวัง

  • ควรเลือกสวมหูฟังขณะออกกำลังกายในสถานที่ที่ไร้สิ่งกีดขวางและสัญจรไปมา
  • หากใช้หูฟังโดยเพิ่มระดับเสียงที่สูงเป็นเวลานานอาจส่งผลถึงสุขภาพหูจนเกิดอาการผิดปรกติ เช่น หูหนวก หูตึง หรือสูญเสียการได้ยินอย่างถาวร ซึ่งผลส่งทอดอีกสิ่งหนึ่งที่ตามมาคือสมรรถภาพการทรงตัวลดลง
  • การเลือกฟังเพลงจังหวะเร็วติดต่อเป็นเวลานานส่งผลต่ออัตราการเต้นของหัวใจ ควรฟังเพลงช้าสลับเร็วควบคู่กับถอดพักหูเป็นระยะ

แหล่งอ้างอิง

  • https://www.scientificamerican.com/article/psychology-workout-music/
  • https://www.ijpp.com/IJPP%20archives/2017_61_4/445-448.pdf
  • https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/22828457/